วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดท้ายบท

แบบฝึกหัดบทที่ 1


1. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตอบ ค. มนุษย์ไม่ต่างจากสัตว์ในแง่ของอารมณ์และความรุ้สึกทางธรรมชาติ

2. การที่สังคมมีความซับซ้อนและมีความเจริญทางวัตถุเกิดจากสาเหตุสำคัญในข้อใด
ตอบ ค. เครื่องมือ

3. ข้อใดถูกต้องที่สุดเมื่อกล่าวถึงการศึกษางานศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตก
ตอบ ง. ภาพเขียนสีถ้ำลาสโคซ์

4. คำว่ามนุษย์ผู้ถนัดในการใช้มือตรงกับข้อใดมากที่สุด
ตอบ ก. โฮโมฮาบิลิส

5. ข้อใดเป็นมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งในยุโรปซึ่งทิ้งผลงานศิลปะไว้มากมายในถ้ำต่างๆ
ตอบ ข. โครมันยอง

6. ข้อใด มิใช่ แหล่งโบราณคดีซึ่งพบหลักฐานภาพสีสมัยหินเก่าอายุประมาณ 30,000-25,000BC.ในยุโรป
ตอบ ค. โอลดูเวย์

7. ข้อใดเป็นศิลปะถ้ำซึ่งพบโดยบังเอิญจากการเล่นซุกซนของเด็กสองคนเมื่อ ค.ศ.1940
ตอบ ข. ลาสโคซ์

8. ภาพเขียนสีในถ้ำอะไรมักถูกยกเป็นตัวอย่างของจิตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์เสมอ
ตอบ ก. อัลตามีรา

9. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตอบ ง. งานประติมากรรมรูปคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มักมีขนาดใหญ่

10. Menhir or Standing Stone เป็นอนุสาวรีย์หินแบบใด
ตอบ ข. หินตั้งเดี่ยว

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1. พื้นฐานดั้งเดิมก่อนเกิดอารยธรรมตะวันตกก่อตัวขึ้นเมื่อใด
ตอบ ก. ประมาณ 4,000 BC.

2. ภูมิภาคแถบเอเชียไมเนอร์เป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมโบราณในข้อใด
ตอบ ก. เมโสโปเตเมีย

3. แม่น้ำไทกริส – ยูเฟรตีส พัดดินตะกอนมาท่วมสองฝั่งภาคใต้ของดินแดนเมโสโปเตเมียในฤดูใบไม้ผลิระหว่างเดือน …. ทำให้ภาคใต้เป็นดินแดนที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลอุดมด้วยปุ๋ยธรรมชาติเหมาะต่อการเพาะปลูกพืชพรรรธัญญาหารต่างๆข้อใดถูกต้อง
ตอบ ข. มีนาคม – พฤษภาคม

4. พื้นที่ภาคเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมียมีฝนตกชุกเมื่อใด
ตอบ ค. ฤดูหนาว

5. ข้อใดเป็นชนชาติเก่าแก่ที่ริเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นมา
ตอบ ก. ชาวสุเมอเรียน

6. ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้ายและไม่เห็นคุณค่าของชีวิต
ตอบ ก. สภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายแปรปรวน

7. ชาวสุเมอเรียนไม่นิยมสร้างพระราชวังขนาดใหญ่ แต่นิยมสร้างซิกเกอแรท (Ziggurats) ศาสนสถานขนาดใหญ่กลางเมืองเป็นที่ประทับของเทพเจ้า ลักษณะคล้ายภูเขาห้อมล้อมด้วยกำแพงเมืองและบ้านเรือนประชาชน สร้างจากวัสดุประเภทใด
ตอบ ก. อิฐตากแห้ง

8. ข้อใดเป็นการปกครองในระยะแรก ของอาณาจักรสุเมอเรียน
ตอบ ง. สภาของผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะ

9. ข้อใดเป็นอักษรที่เกิดจากการใช้ไม้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วผึ่ง หรืออบให้แห้ง
ตอบ ก.คูนิฟอร์ม

10. ข้อใดเป็นชื่อของผู้ก่อตั้งอาณาจักรบาบิโลเนีย
ตอบ ก. ฮัมมูราบี

11. “ พวก Canaanites ” เป็นคำเรียกชนชาติในข้อใด
ตอบ ก. ชาวฟีนิเชียน

12. หลังจากถูกรุกรานโดยชาวยิวและชาวฟิลิสไตน์เมื่อประมาณ 1,300 – 1,000 BC. ดินแดนของชาวคะนาอันไนต์จึงเหลือเพียง “ ฟีนีเซีย ” ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งแคบๆของทะเลอะไร
ตอบ ก. ทะเลเมดิเตอเรเนียน

13. ในปี 750 BC. ชนชาติใดได้เข้ามายึดครองดินแดนของชาวฟีนิเชียนจนเกือบหมด เหลือเพียงอาณานิคมที่เมืองคาร์เธจเท่านั้น
ตอบ ก. ชาวแอสซิเรียน

14. ข้อใดเป็นต้นตระกูลของอักษรที่ชาวยุโรปใช้อยู่ในปัจจุบัน
ตอบ ค. อักษรฟีนิเชียน


15. ชาวฮิบรูเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะลทรายเมื่อ 1,400 BC. มี Moses เป็นผู้นำสำคัญในการปลดแอกจากการเป็นทาสของชนชาติใด
ตอบ ข. อียิปต์

16. ข้อใดเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอิสราเอลเมื่อประมาณ 1,013 – 973 BC.
ตอบ ก. พระเจ้าเดวิด

17. อาณาจักรอิสราเอลถูกทำลายโดยชนชาติใด
ตอบ ง. ชาวแอสซิเรียน

18. เหตุการณ์ที่เรียกว่า The Babylonian Captivity เกี่ยวกับชนชาติใด
ตอบ ข.ชาวฮิบรู

19. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับศาสนายูดาย
ตอบ ข. นับถือพระยะโฮวา


20. ผู้สถาปนาอาณาจักรเปอร์เซียเมื่อปี 549 BC. คือใคร
ตอบ ง. พระเจ้าไซรัส

แบบฝึกหัดบทที่ 3

1. มหากาพย์อีเลียดและโอเดสซีเป็นของอารยธรรมกรีกยุคใด
ตอบ ยุคมืด


2. วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพของเทพองค์ใด
ตอบ ข. อะเธนา

3. หัวเสาทำเป็นรูปใบไม้ตรงกับข้อใด
ตอบ ค. หัวเสาแบบโครินเธียน

4. ความนิยามในการสร้างประติมากรรมหญิงเปลือยแทนรูปชายเปลือยเกิดขึ้นยุคใด
ตอบ ง. ยุคเฮเลนิสติก


5. จิตรกรรมกรีกสมัยแรกมักทำ Back ground เป็นสีอะไร
ตอบ ข. สีแดง


6. ลักษณะของงานจิตรกรรมที่นิยมวาดสีตัดกับพื้นในฉาก แล้วพัฒนาเป็นรูปเครือเถา และรูปเล่าเรื่องในนิทานปรัมปรา (Methology) และมหากาพย์ของโฮเมอร์อย่างกลมกลืนงดงามเกิดขึ้นในยุคใด
ตอบ ค. ยุคคลาสสิค


7. การแสดงละครแพร่หลายมากในยุคใด
ตอบ ค. ยุคคลาสสิค


8. ข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงละครแบบโศกนาฎกรรม (Tragedy) และสุขนาฎกรรม (Comedy)
ตอบ ก. ตัวละครชายทั้งหมด


9. นักปรัชญากรีกที่ก่อตั้งสำนักอะคาเดมีขึ้นที่เอเธนส์คือใคร
ตอบ ข. เพลโต


10. นักปรัชญาที่เชื่อว่า ปัญญานำมาซึ่งความรู้ และความรู้นำมาซึ่งความสุขสบาย ถ้าปราศจากความสุขสบายมนุษย์จะไม่เกิดปัญญา คือใคร
ตอบ ค. อริสโตเติล

11. เทพองค์ใดมิใช่พี่น้องของมหาเทพซูส
ตอบ ข. ฮาเดส


12. อาวุธของมหาเทพซูสคืออะไร
ตอบ ค.สายฟ้า


13. เทพที่มักปรากฎกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้างสวมรองเท้ามีปีกถือคทาที่มีงูพันคือใคร
ตอบ ค. เฮอร์มีส


14. เทพีแห่งการครองเรือนและเทพแห่งครอบครัวคือใคร
ตอบ ค. เฮสเทีย


15. เทพีแห่งสงคราม ความฉลาดเฉลียว และศิลปศาสตร์
ตอบ ข. อะธีน่า


16. เป็นฉนวนเหตุของสงครามกรุงทรอยคือใคร
ตอบ ข. เฮเลน

แบบฝึกหัดบทที่ 4

1. การปกครองในข้อใดทำให้เกิดจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
ตอบ ค. การปกครองแบบ Tretarchy

2. หลังจากเกิดจักรวรรดิไบแซนไทน์ ข้อใดเป็นรูปแบบการปกครองของจักรวรรดิดังกล่าว
ตอบ ก. การปกครองแบบ Autocrat

3. “ โรมใหม่ ” หมายถึงข้อใด
ตอบ ค. คอนสแตนติโนเปิล


4. ข้อใดไม่ใช่พื้นที่ของอาณาจักรโรมันตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 7
ตอบ ค. คาบสมุทรไอบีเรีย


5. ข้อใดเป็นการปกครองที่จักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งทางจักรวรรดิและทางศาสนา
ตอบ ก. การปกครองแบบ Autocrat


6. จักรวรรดิโรมันตะวันออกใช้ภาษาอะไรในการสื่อสารอย่างเป็นทางการ
ตอบ ก. กรีก


7. คริสต์ศาสนาแบบ Christian Hellenism มีศูนย์กลางที่ใด
ตอบ ง.กรุงคอนสแตนติโนเปิล


8. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่หลายของศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์
ตอบ ง. ยุโรปตะวันตก


9. ข้อใดไม่ใช่เมืองสำคัญทางศาสนาคริสต์ที่จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดไว้เมื่อ ค.ศ. 325
ตอบ ก. เอเธนส์


10. ข้อใดไม่ถูกต้อง
ตอบ ง. Novels คือ นิยายเรื่องยาว

แบบฝึกหัดบทที่ 5

1. ยุคกลางหมายถึงยุคซึ่งอยู่ระหว่าง
ตอบ ความเจริญโลกคลาสสิกกับยุโรปใหม่

2. ศิลปะในยุคกลางตอนต้นเรียกว่า
ตอบ ยุคแห่งความสำเร็จพวกนอร์ธแมน

3. ยุคกลางตอนปลายเป็นยุคเสื่อมของ
ตอบ สถาบันศาสนาและศักดินา

4. ระบอบศักดินาหมายถึง
ตอบ ระบอบการปกครองทางสังคมที่เน้นกรรมสิทธิ์ที่ดิน


5. ยุคกลางสิ้นสุดลงเมื่อใด…..ค้นพบทวีปอเมริกา
ตอบ คริสโตเฟอร์ โคลัมปัส


6. Benefice ในสมัยกลาง หมายถึง
ตอบ จารีตการยกที่ดินของวัดให้เอกชนเช่า


7. Lord หมายถึง
ตอบ ขุนนางชั้นสูงซึ่งได้รับพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดิน


8. พวก Crofter and Cotters ในสมัยกลางหมายถึง
ตอบ คนที่มีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่าทาสติดที่ดินเพราะไม่มีที่ดินทำกิน


9. อำนาจของชนเผ่าเยอรมันมาจาก
ตอบ การใช้คมหอกสั้นปลายแคบและเครื่องมือเหล็ก


10. ชาวคริสต์เชื่อว่ากรุงโรมเป็นสถานที่ศักสิทธิ์เพราะ
ตอบ เป็นที่ฝังร่างของนักบุญ ชื่อ ปีเตอร์ซึ่งเป็นประมุของค์แรก


11. วิหารพระเจ้าชาเลอมาล ตั้งอยู่ที่ใด
ตอบ เมืองอาเคน


12. โบสถ์ All Saint Church ที่นอร์แธมตันไชร์ ประเทศอังกฤษ เป็นโบสถ์แบบ
ตอบ แองโกล-แซกซอน

13. สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์มีลักษณะเด่นคือ
ตอบ อาคารมีประตูหน้าต่างโค้งกลม กำแพงหนา หน้าต่างบานเล็กและเรียวยาว


14. มหาวิหารดูแรห์ม มีลักษณะเด่นคือ
ตอบ การทำซุ้มโค้งแบบไขว้


15. จุดเด่นของสถาปัตยกรรมกอธิคคือ
ตอบ การใช้เสาค้ำยันจากภายนอกและใช้เสาหินรองรับน้ำหนักของหลังคา


16. ใครเป็นผู้เขียนวรรณกรรมเรื่อง The City of god
ตอบ นักบุญ Augustin


17. มหากาพย์เรื่อง Chanson de Roland สะท้อนให้เห็นคุณธรรมด้านใด
ตอบ เห็นความกล้าหาร อุดมการณ์ จริยธรรม ความเสียสละและศรัทธาในศาสนาคริสต์


18. นิยายเพ้อฝันสมัยกลางเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ตอบ ความรักของหนุ่มสาว

19. The idea of Chivalry หมายถึง
ตอบ การแสวงหาความรักเทิดทูนบูชาต่อสตรีสูงศักดิ์


20. Canterberry Tales คือ
ตอบ นิยายเสียดสีสัง คมของ Chance

แบบฝึกหัดบทที่ 6

ตอนที่ 1 จงทำเครื่องหมายถูกหน้าข้อที่ถูกและทำเครื่องหมายผิดหน้าข้อที่ผิด


........ 1 ศูนย์ของศิลปเรอแนสซองส์สมัยแรก(Early Renaissance)เกิดที่กรุงโรม


........ 2 พ่อค้าสมัยเรอแนสซองส์พยายามเลียนแบบชีวิตความเป็นอยู่ของขุนนางสมัย


กลาง เช่น การอุปถัมป์การศร้างงานของศิลปิน


........ 3 ศิลปสมัยเรอแนสซองส์นิยมความงามตามแบบอย่างจารีตสมัยกลาง


........ 4 นักปรัชญามนุษยนิยมสนใจเรื่องราวและหลักทำทางศาสนา


........ 5 ตระกูลเมดีซี Medici เป็นผู้อุปถัมป์ศิลปินที่เมืองฟลอเรนซ์


ตอนที่ 2 จงจับคู่ให้ถูกต้อง
  ก. สถาปัตยกรรมสมัยรอคโคโค (Rococo)               ข. ฟราโกนาร์ด (Fragonard)
  ค. เบอร์นินี (Bernini)                                                ฆ. ประติมากรรมสมัยบารอค (Baroque)
  ง. สถาปัตยกรรมสมัยบารอค (Baroque)                   จ. บารอค (Baroque)

  ฉ. เรมบรานท์ (Rembrandt)                                       ช. ชิมอนี (Chimoni)
  ซ. รอคโคโค (Rococo)                                            ฌ. จิตรกรรมสมัยรอคโคโค
  ญ. คาราวัคโจ (Caravaggio)
......ก.....1. การซื้อขายตำแหน่งศาสนาและใบไถ่บาป



......จ.....2. ลักษณะที่ผิดเพี้ยนไปจากแบบแผนดั้งเดิม


......ญ....3. จิตรกรรมที่ชื่อ Calling of Mathew


.......ฉ....4. ริเริ่มจัดภาพแบบกระจายซ่อนภาพรางๆไว้นความมืดให้แสงจ้าเป็นจุดๆ


......ฌ....5. ทำท่าโลดโผนคล้ายแสดงละคร แต่งกายหรูหราทำผ้าเป็นจีบมุมเกินจริง


.......ข....6. ประติมากรรมเดวิด


.......ค.....7. มีโครงสร้างละเอียดซับซ้อน แลดูพร่างพรายจากการเน้นแสงสว่างในอาคารเป็นจุดๆ


.......ง......8. มีโครงสร้างเป็นเส้นโค้งอ่อนหวานเน้นรายละเอียดที่เป็นวิจิตรพิศดาร


.......ฌ.....9. เน้นให้เกิดความเคลิบเคลิ้มในบรรยากาศมากกว่า


.......ซ....10. จิตรกรรมชื่อ การนัดพบของคู่รัก

แบบฝึกหัดบทที่ 7

1. ศิลปะลัทธินีโอคลาสสิค หมายถึงอะไร
ตอบ รูปแบบศิลปะที่หวนไปนำปรัชญาและหลักสุนทรียภาพทางศิลปะ แบบคลาสสิกของกรีกโบราณมาสรรค์สร้างขึ้นใหม่ในยุโรป


2. ความตื่นเต้นจาการขุดพบเมืองอะไรในสมัยโรมันซึ่งผลักดันให้เกิดศิลปะนี่โอคลาสสิค
ตอบ เมืองเฮอร์คูลาเนียมและเมืองปอมเปอี

3. ศิลปินที่กล่าวว่าศิลป คือ ดวงประทีปของเหตุผล ซึ่งต่อมากลายเป้นความเชื่อของศิลป
ตอบ ศิลปะนีโอ-คลาสสิก


4. ศิลปะลัทธินีโอ-คลาสสิค มีแนวทางการสะท้อนผลงานทางศิลปะอย่างไร
ตอบ ต้องแสดงความถูกต้องตามหลักกายวิภาคศาสตร์ การวางท่าทางที่สง่างามตามแบบอย่างของศิลปะกรีก-โรมันโดยเน้นความถูกต้องตามหลักความเป็นจริง


5. ผลงานของดาวิดชื่อ คำสาบานของพวกฮอราติไอ ต้องการสะท้อนแนวคิดอะไรแก่ผู้ชม
ตอบ แนวคิดเกี่ยวกับการรักชาติของนักรบโรมัน 3 คน ที่รับดาบจากบิดาไปสู่ศัตรู


6. ภาพเขียนชื่อ โรงพยาบาลโรคระบาดที่เจฟฟา เป็นผลงานของใคร
ตอบ ดาวิด


7. ขณะที่ศิลปะลัทธินีโอ-คลาสสิค คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักการและกฏเกณฑ์ทางศิลปะ แต่ลัทธิโรแมนติกกลับยึดถือและให้ความสำคัญต่อสิ่งใด
ตอบ อารมณ์และจิตใจของศิลปินมากกว่าเหตุผล

8. ภาพ แพเมดูซา The Raft of the Medusa เป็นผลงานของใคร
ตอบ เจอริโคลต์


9. ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเดอลาครัวเป็นอย่างยิ่งชื่อว่าอะไร
ตอบ ภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ ชื่อ เสรีภาพนำหน้าประชาชน


10. แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานในศิลปะลัทธิสัจจะนิยมเน้นเรื่องใดเป็นสำคัญ
ตอบ เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์


11. ศิลปะลัทธิเอมเพลสชั่นนิสม์ปรากฎอย่างเป็นทางการเมื่อใดและสร้างผลอย่างไร
ตอบ ค.ศ. 1874 สร้างความตื่นตระหนกและถูกประณามจากนักวิจารณ์ศิลปะแนวอนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง


12. ศิลปินที่ได้รับว่าเป็นผู้นำของกลุ่มลัทธิอิมเพลสชั่นนิสม์ คือใคร
ตอบ อีดูวาร์ด มาเนต์


13. อิมเพลสชั่นนิสม์เป็นจุดเริ่มต้นของสิลปสมัยใหม่ เพราะเปลี่ยนจาการเทคนิคการสร้างงานด้วยเกลี่ยสีมาเป็นเทคนิคอย่างไร
ตอบ เป็นแบบป้ายสีเพื่อให้สีผสมผสานกันในสายตาผู้ดู สนใจมิติทางสุนทรียศาสตร์


14. ศิลปินลิทธิอิมเพลสชั่นนิสม์ที่มีความสูงในการเสียงภาพคนและแง่มุมและทัศนียวิทยาชองสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์ โดยใช้สีได้อย่างสดใส มีบรรยายกาศใสสะอาดราวกับสิ่งต่างๆเป็นของเหลว คือ ใคร
ตอบ ปิแอร์ ออกุสต์ เรอนัวร์


15. ศิลปะลัทธิโพสท์-อิมเพลสชั่นนิสม์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ มีอะไรบ้าง
ตอบ 1 กลุ่มที่เน้นการแสดงออกด้านอารมณ์ 2 กลุ่มที่เน้นความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางศิลปะ


16. ผู้สนับสนุนศิลปินกลุ่มโพสท์-อิมเพลสชั่นนิสม์คือใคร
ตอบ โรเจอร์ ฟราย กับ คลีฟ เบลล์


17. ความเชื่อในการสร้างสรรค์งานของพอล เซซานน์ เป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ การประสานสัมพันธ์ของสีมีมากเท่าไร ความกลมกลืนกันก็มีมากเท่านั้น


18. แวนโก๊ะมีพัฒนาในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร
ตอบ ระยะแรกสะท้อนภาพชีวิตที่หม่นหมองและแสดงออกแบบลัทธิเรียลิสม์ ตอนหลังใช้แปรงแต้มสีหนาเป็นริ้วรอยแปรงที่แสดงออกึงความรุนแรงของอารมณ์อย่างที่สุด


19. ผลงานที่ได้รับยกย่องของแวนโก๊ะมี 3 ภาพ คือ
ตอบ คนกินมัน ดอกทานตะวัน ราตรีประดับดาว


20. เมื่อกล่าวถึงจิตรกรคนสำคัญที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างไม่มีทฤษฎี ไม่มีการบันทึกถึงความสามารถในด้านบุกเบิกสุนทรีภาพใหม่โดยงานที่เขาสร้างขึ้นนั้นเปรียบเสมือนการ บันทึก สิ่งที่เขาเห็นและเข้าใจโดยปราศจากความคิดเห็น ไม่มีความสงสาร ไม่มีอารมณ์รู้สึกไม่มีการกล่าวหาและไม่มีการส่อเสียดใดๆ หมายถึงศิลปืนคนใด
ตอบ ทรูลูส โรเทรค


แบบฝึกหัดบทที่ 8

1. ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ มีความเป็นมาอย่างไร
ตอบ Fauvism มาจากภาษาฝรั่งเศส Les Fauves แปลว่า สัตว์ป่า จึงหมายถึง ลัทธิสัตว์ป่า อันเป็นคำเปรียบเปรยรูปแบบศิลปะเมื่อเปรียบเทียบผลงานของศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ที่งามตามหลักสุนทรียภาพเดิม

2. แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวอะไรบ้าง
ตอบ ความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและศาสนา


3. แนวทางการสร้างผลงานของกลุ่มม้าสีน้ำเงินเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ แสดงออกทางอารมณ์อย่างรุนแรงที่แฝงความสนุกสนานจากการใช้สี เส้น และการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรีสลายตัว


4. ศินปินที่ได้ชื่อว่าเป็นลัทธิอิมเพลสชันนิสม์ คือใคร
ตอบ เอ็ดวาร์ด มูงค์


5. ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ หรือ Cubism Art มีรากฐานอย่างไร
ตอบ มีรากฐานมาจากผลงานของเซซานน์


6. ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ เชื่อในเรื่องใด
ตอบ การแสดงออกทางศิลปะนอกจากจะไม่ต้องแสดงเชิงการถ่ายทอดเชิงความเป็นจริงตามตาเห็นแล้วยังจะต้องกลั่นกรองรูปทรงด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงให้เหลือเพียงแก่นแท้ที่มั่นคงแข็งแรง


7. ภาพ เกอนีแค ค.ศ.1937 เป็นผลงานของศิลปินคนใด
ตอบ ปาเบล ปิคัสโซ


8. ผลงานศิลปที่ชื่อ บ้านที่เลสตัค ในพิพิธภัณฑ์ที่กรุงเบอร์น เป็นผลงานของศิลปินคนใด
ตอบ จอร์จ บราค


9. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของศิลปนามธรรมคือใคร
ตอบ แคนดินสกี จิตรกรชาวรัสเซีย


10. จิตกรลัทธินามธรรม เอ็กเพรสชันนิสม์ ที่มีชื่อเสียงและโดดเด่น ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting คือใคร
ตอบ แจคสัน พอลลอค


11. ศิลปะลัทธิดาดามีพัฒนาการความคิดเริ่มแรกมาอย่างไร
ตอบ เตือนให้มนุษย์ตระหนักถึงผลลัพธ์ของสงคราม


12. การสลายตัวของศิลปินลัทธิดาดาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์โลกดีขึ้น และงานศิลปแนวลัทธิเซอร์-เรียลิสม์กำลังได้รับความนิยม ใน ค.ศ.1922


13. ศิลปะลัทธิดาดาชื่อ น้ำพุ และภาพโมนาลิซามีหนวด เป็นผลงานของใคร
ตอบ มาร์เซิล ดูชัมป์


14. ศิลปินลัทธิเซอเรีย ลิสม์ที่ใช้ ทฤษฎีอันฉับพลันของความเข้าใจอันไร้เหตุผล อันมีพื้นฐานมาจากการตีความหมายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ของจิตร อันแปรปรวนคือใคร
ตอบ ซันวาดอร์ ดาลี


15. ความหมายเชิงปรัชญาของ เซอร์ –เรียลิสม์ คืออะไร
ตอบ เชื่อในความจริงมากกว่ารูปแบบความสัมพันธ์บางอย่างที่ถูกละเลยมาก่อนหน้านี้

แบบฝึกหัดบทที่ 9

1. ศิลปะป๊อปอาร์ต มีลักษณะอย่างไร
ตอบ เกี่ยวข้องกับบุคคลในสังคมปัจจุบัน ที่กำลังได้รับความสนใจหรือวิพากษ์วิจารณ์มิใช่เทพนิยาย ประวัติศาสตร์หรือศาสนา

2. ศินปินที่นำรูปร่างของอาหารซึ่งเป็นที่นิยมของสมัยนี้มาจำลองด้วยการใช้ผ้ายัดนุ่นคล้ายหมอนเพื่อสร้างความเร้าใจแก่ผู้พบเห็นคือใคร
ตอบ แคลส์ โอลเดนเบอร์ก


3. จิตรกรอเมริกันที่กล่าวถึงศิลปป๊อปอาร์ต ว่าในความคิดของฉันเป็นศิลปะที่ไร้ยางอายที่สุดแห่งวัฒนธรรมของพวกเขาคือใคร
ตอบ รอย ลิชแทนสเตน


4. ศิลปะป๊อปอาร์ต รูปแบบอย่างไร
ตอบ  เป็นศิลปะนามธรรมเน้นขอบเขตที่คมกริบ มีการจัดวางทิศทางและลีลาของเส้น รูปร่าง หรือจุดบนพื้นระนาบให้เกิดการลวงตา

5. Kinetic Art หมายถึงอะไร
ตอบ เป็นศัพท์ทางฟิสิกส์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในทางศิลปะกาโบ


6. ผลงานชื่อหน้าผาที่ถูกห่อ ในศิลปแบบ Conceptual Art สร้างสรรค์โดยศิลปินชื่ออะไร
ตอบ คริสโต

7. สร้างสรรค์ทางศิลปชื่อเขียนขดก้นหอย คือผลงานของใคร
ตอบ George Steinmetz.

แบบฝึกหัดบทที่ 10

1. พระสันตปาปาทรงนำดินแดนอิตาลีส่วนใหญ่เข้าไปอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ของอาณาจักรโรมัน ศักสิทธิ์ในสมัยใด
ตอบ สมัยยุคกลาง


2. Papal State เกิดขึ้นเมื่อใด
ตอบ ปลายศตวรรษที่ 15


3. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างชาติอิตาลี ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือใคร
ตอบ พระเจ้าวิกเตอร์เอมมานูเอลแห่งซาร์ดีเนีย


4. ในอดีต สนามกีฬา Colosseum จุคนได้กี่คน
ตอบ 67000-80000 คน


5. จุดกำเนิดของเพลง ทรี คอย ออฟ เดอะ ฟาวน์เท่น ที่กรุงโรมคืออะไร
ตอบ น้ำพุเทรวี


6. มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นมหาวิหารที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันเนื่องจากอะไร
ตอบ เชื่อกันว่าเปนสถานที่ฝังร่างของนักบุญปีเตอร์ หนึ่งในสาวก สิบสององค์ของพระเยซู


7. นักวิทยาศาสตร์ทางอิตาเลี่ยนซึ่งทดลองเรื่องความเร็วของวัตถุที่ตกลงมาจากที่สูง ณ หอ เอนปิซาคือใคร
ตอบ กาลิเลโอ


8. ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นใหญ่ว่าหกเหลี่ยม เนื่องจากอะไร
ตอบ รูปทรงทางกายภาพของประเทศ

9. หอไอเฟล ตั้งอยู่ที่ใด
ตอบ ปารีส ฝรั่งเศส


10. พระราชวังแวร์ซายส์ ตั้งอยู่ในกรุงปารีสเป็นพระราชวังที่สวยงาม น่ามหัศจรรย์ยิ่งแห่งหนึ่งของโลก
สร้างโดยใคร
ตอบ พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14


11. ภาพเขียนโมนาลิซาองดาวินซี ปัจจุบันอยู่ที่ใด
ตอบ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์


12. สวิตเซอแลนกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในปี 1863 เมื่อใครจัดทัวร์
ครั้งแรกจากอังกฤษ ไปยังสวิตเซอร์แลนด์
ตอบ โทมัสคุ๊ก


13. พวกที่ย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์สวิตเซอแลนเมื่อ10000 ปีก่อน
คริสตศักราชคือคนกลุ่มใด
ตอบ กลุ่มนักล่าสัตว์และคนเร่ร่อน


14. ในยุคจักวรรดิ โรมันอันศักสิทธิ์ สนธิสัญญา Verdun ในปี 834 ทำให้พื้นที่ทางทิศตะวันตกของสวิตเซอแลนด์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Lothair ที่ 1 ส่วนทางด้านตะวันออก อยู่ภายใต้การ
ปกครองของกษัตริย์องค์ใด
ตอบ Louis the German

15. ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1และ2 สวิตเซอแลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางการทหารบทบาทสำคัญ
เพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 คืออะไร
ตอบ การส่งสภากาชาติเข้ามาช่วยเหลือ


16. ประเทศสวิตเซอแลนด์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา เซ็งเก็นซึ่งมีใจความสำคัญว่าอย่างไร
ตอบ นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาติเซงเก็นแบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่ง  สามารถเดินทางเข้าออกประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่ารวม 26 ประเทศ

17. อาหารขึ้นชื่อของซูริกคืออะไรบ้าง
ตอบ เกซเนตเซลเตส และราทส์เฮเลนโตฟ

18. ประสาทที่ปรากฎในการ์ตูนของวอล ดิสนีย์นำรูปแบบมาจากประเทศอะไรในสวิตเซอแลนด์
ตอบ ปราสาทตูน


19. เมืองต้นกำเนิดของชัส ยี่ห้อเอ็ม เมนทัลและชอคโกแลตทรงสามเหลี่ยมท็อปเบิลโรน คือเมืองใด
ตอบ เบิร์น


20. สัญลักษณ์ของเมืองเบิร์นคืออะไร
ตอบ หมี

21. อนุเสารีย์สิงโตมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เป็นอนุเสารีย์ที่สร้างให้กับทหารที่เป็นองครักษ์ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งเสียชีวิต 786 คนใ นการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส


22. เมืองศูนย์กลางการจัดนิทรรศการหลัก อีกเมืองหนึ่งของประเทศสวิตเซอแลนด์ คือ
ตอบ ซูริค

23. พิพิธภัณฑ์ใดได้รับยกย่องว่าสวยงามเป็นอันดับสองของโลก และมีชื่อเสียงมากที่สุดของมาดริด
และเป็นแหล่งสะสมภาพเขียนล้ำค่าแห่งหนึ่งของโลกคือ ที่ใด
ตอบ พิพิธภัณฑ์ปราโด


24. ปลาซ่า มายอร์ มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ราชาภิเษก สนามสู้วัวกระทิง


25. ผลงานส่วนใหญ่ของ ปิกัสโซ ที่บาเซโลนาสเปน อุทิศให้แก่ใคร
ตอบ เพื่อนรักของเขา คือ ซาบาร์เตส

26. เทศกาลวิ่งวัวกระทิงของเมืองแปรมโปรนาในสเปนจัดขึ้นในวัน Siant Fermin Day นักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่ออะไร
ตอบ ชมการแสดงโชว์หวาดเสียวของวัวกระทิง


27. ข้าวหมกสเปนมีต้นกำเนิดจากที่ใด
ตอบ บาเลนเซีย


28. Sangria เครื่องดื่มยอดนิยมของชาวสเปน มีส่วนผสมของอะไรบ้าง
ตอบ ไวน์แดง บรั่นดี น้ำอัดลม และผลไม้

29. ชาวโครแอทอพยพมาจากทางเหนือของยุโรปช่วงศตวรรษที่6และอยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักร
ตอบ ไบแทนไซต์


30. หลังสงครามโกลครั้งที่2 มีการตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียในปี 2488 ภายใต้การ นำของจอมพลติโต ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ เซอร์เบีย โครเอเซีย สโลวีเนีย บอสเนีย เฮอร์เซโกวินา มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย มณฑลโคโซโว และวอยโวดินา


31. ประเทศไทยได้รับการรับรองเอกราชของโครเอเชียเมื่อไร
ตอบ ค.ศ. 1990


32. ปัจจุบันมหาวิหาร เซน สตีเฟนที่มีเมืองซาเกรปมีลักษณะทางศิลปะแบบใด
ตอบ แบบนีโอ กอธิค


33. มหาวิหารเซนต์เจมส์ที่เมืองไซเบนิค ซึ่งสร้างขึ้น 1431-1535 เป็นสถาปัตกรรมที่ผสมผสาน อะไรบ้าง
ตอบ ดาลมาเซียท้องถิ่น ศิลปะทางเหนือของอิตาลีและศิลปะทัศคานี

34. ได้รับฉายา แคลิโฟเนีย แห่งเมืองโครเอเชียคือเมืองใด
ตอบ Trogir


35. ชื่อเดิมของประเทศตุรกีคืออะไร
ตอบ จักรวรรดิออตโตมัน

36. House of Verjin Mary บ้านของพระแม่มารีมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ เป็นที่สุดท้ายที่พระแม่มารีอาศัยและสิ้นพระชนม์ที่นี่

37. เมืองเอฟฟิซุส สำคัญอย่างไรต่อจักรวรรดิโรมัน
ตอบ เคยเป็นที่พักอาศัยของชาวโยนกและเคยเป็นเมืองหลวงต่างจังหวัดของโรมัน

38. พระราชวังโดลมาบาชเช่ สร้างโดยใคร
ตอบ สุลต่านอับดุล เมอซิท


39. เหตุใดนาฬิกาทุกเรีอนของพระราชวังโดลมาบาชเช่จึงชี้ที่ 09.05 เป็นนิจนิรันดร์
ตอบ เพื่อเป็นการรำลึกของการจากไปเมื่อวันที่ 10 พ ย. 1938 ของอาคาล อาตาเติร์ก


40. อาหารประจำชาติตุรกีคืออะไร
ตอบ กะบับ

ยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern)

ลักษณะศิลปะ Post modern

          กล่าวโดยเชิงรูปแบบและเนื้อหา ศิลปะ Post Modern มีส่วนที่เหลื่อมซ้อนกับศิลปะ Modernism อยู่มาก เช่น ซ้อนทับกับพวก Surrealism, Avant-garde หรือ Dada แต่ Post Modern มีแนวโฟกัสที่ชัดเจนหลายมุมกว่า คือ




1. การปฏิเสธศูนย์กลาง (Centre) ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจที่ครอบงำเน้นชายขอบซอกมุม


(Margins) เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะ อัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฎในงานสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นจุดศูนย์กลาง งานวรรณกรรมจำนวนมากที่พูดถึงแง่มุมเล็ก ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกแต่ผันแปรอย่างไม่คาดคิดไปในมุมเล็ก ๆ เช่นกัน เช่น Fury ของ Rushdie หรือ Kitchen ของ Yashimoto

2. การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ (Unity) หรือองค์รวม (Totality) ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรม จึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ้อนกัน เช่น นิยายของ Milan Kundara


3. การปฏิเสธเอกภาพนี้อาจทำได้โดยแนว Eclectic คือ “ยำใหญ่” หลายกาละ เทศะ ยุคสมัย ปัจจุบัน อนาคต อดีต วัฒนธรรม เช่น สถาปัตยกรรมของ Charle Mooreหรือที่พบอย่างแพร่หลายใน Music Video และโฆษณาต่าง ๆ ในปัจจุบัน

4. นอกจากลักษณะยำใหญ่ อาจมีลักษณะลูกผสมทั้งสิ่งที่ข้างเคียงหรือขัดแย้ง ทำให้เกิดลักษณะคำถามไม่ชัดเจน เช่น คำพูดของ Venturi


          “ ผมชอบองค์ประกอบที่เป็นลูกผสม (Hybrid) มากกว่าที่จะ ชัดเจน บิดเบี้ยวมากกว่าตรง กำกวมมากกว่าแจ่มแจ้ง น่าเบื่อพอ ๆ กับน่าสนใจ...ไม่สม่ำเสมอ...มั่ว ๆ มากกว่าเป็นเอกภาพ ”

5. เนื่องจาก Post Modern มาจาก Post Structuralism จึงมีแนวโน้มคัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ดังปรากฎในงานออกแบบของ Frank Gehry , James Sterling

6. Post Modern ปฏิเสธจุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์ แต่โหยหาอดีต (Nostalgia) เนื่องจาก ความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ แต่อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ หากเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบัน หรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง หรือถูกนำมาล้อเล่น ดังปรากฎในงานสถาปัตยกรรม รวมทั้งภาพยนตร์ วรรณกรรม จินตนาการเชิงเทวตำนาน (Myth) มากขึ้น

ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art)


          โดยทั่วไปคำว่า โมเดิร์น (Modern คือคำวิเศษณ์ ตรงกับคำว่า “สมัยใหม่” ในภาษาไทย) หมายถึง ความใหม่ ความร่วมยุคร่วมสมัย ศิลปะล้วนแล้วแต่ “ใหม่ (modern)” สำหรับผู้สร้างมัน ถึงแม้ว่าจะเป็น ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance, เรอเนอซองส์) ในฟลอเรนซ์ หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในนิวยอร์ค หรือศิลปะที่เขียนขึ้นในวันนี้ ในรูปแบบของศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ยัง “ใหม่ (modern)” ในความหมายนี้  หรืออีกนัยหนึ่ง ในความหมายแบบกำปั้นทุบดินสมัยใหม่ก็คือ สิ่งที่ไม่เก่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “เก่า” หรือ “ประเพณี” ดังเช่น ความสมัยใหม่ในบริบทของสังคมไทย ภาพเขียนของ ขรัวอินโข่ง หรือของ สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงสมัยใหม่สำหรับสังคมไทยในสมัยนั้นๆ


          เรา(คนไทย) มักจะนึก “ความเป็นฝรั่ง” พร้อมๆกับคำว่าสมัยใหม่ แต่ในความหมายเชิงประวัติศาสตร์ คำว่า “โมเดิร์น” ในศิลปะตะวันตกหมายถึงยุคสมัยจำเพาะในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างประมาณคริสต์ทศวรรษ 1860-1970 ในความหมายนี้สมัยใหม่ถูกใช้อธิบายรูปแบบและอุดมคติหรืออุดมการณ์ในการสร้างสรรค์ในยุคนั้นๆ


          ลักษณะสำคัญของ “ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art) และ “ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism, โมเดิร์นนิสม์) คือ ทัศนคติใหม่ๆที่มีต่ออดีตและอนาคต ซึ่งเป็นไปแบบสุดขั้ว โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคปฏิวัติของยุโรป ศิลปินเริ่มที่จะให้การยอมรับการเขียนภาพ “เหตุการณ์ปัจจุบัน-ร่วมสมัย” ในยุคของตนว่า สามารถมีคุณค่าทางศิลปะได้เท่าเทียมกับภาพเขียนเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ยุคโบราณ หรือยุคประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิล


          การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ทั่วยุโรปใน ปี 1848 ประกอบกับการอ่อนแรงของศิลปะแบบทางการ หรือ ศิลปะตามหลักวิชา (academic art) ทำให้กระแสศิลปะลัทธิสมัยใหม่ยิ่งเติบโต


          จิตรกรแนว นีโอ-คลาสสิสม์ (Neo-Classicism) อย่าง ฌาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) เขียนภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส จิตรกรแนว โรแมนติสิสม์ (Romanticism) อย่าง ฟรานซิสโก เดอ โกย่า (Francisco de Goya) เขียนภาพเหตุการณ์ตอนที่นโปเลียนจากฝรั่งเศสรุกรานสเปน เรื่องราวที่จิตรกรทั้งสองเขียนในภาพของพวกเขา ได้ช่วยแผ้วถางทางของศิลปะในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่เห็นได้จากงานศิลปะที่ปฏิเสธการเขียนภาพเกี่ยวกับอดีต ของศิลปิน เรียลลิสม์ (Realism, สัจนิยม) อย่างเช่น กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) และ เอดัวร์ มาเนต์ (Edouard Manet)


          ในจุดเริ่มต้นของศิลปินสมัยใหม่ พวก อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist, Impressionism) และ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist, Post-Impressionism) จะทำการปฏิเสธทั้งการเขียนภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และยังไม่สนใจขนบของการสร้างภาพลวงตา (เขียนให้เหมือนจริงมาก) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา


          “ความใหม่” คือสิ่งที่ศิลปินสมัยใหม่ให้ความสำคัญ ทัศนคติแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในแนวคิดเกี่ยวกับ “อาวองท์-การ์ด” (avant-garde, หัวก้าวหน้า) คำนี้เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึง ทหารแนวหน้า (advance guard) ศิลปินอาวองท์-การ์ด หรือศิลปินหัวก้าวหน้า ได้กลายเป็นพวกที่ล้ำยุคล้ำสมัยของสังคม (ก้าวเร็วแซงหน้าจนชาวบ้านตามไม่ทัน) ถึงแม้ว่าความก้าวหน้ามากๆแบบนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แต่การที่ศิลปินอิสระจนหลุดพ้นไปจากกรอบของยุคสมัย บางทีก็ถูกปฏิเสธจากนักประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เหมือนกัน


          บทบาทของผู้อุปถัมภ์ศิลปะในอดีตอย่าง ศาสนจักร รัฐ และขุนนาง ที่ลดลงไปอย่างมาก ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ลัทธิสมัยใหม่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะศิลปินสมัยใหม่จะมีอิสระเสรีที่จะคิดและทำศิลปะที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งต้องทำตามความชอบของผู้ว่าจ้าง


          นอกจากนี้ การค้าขายศิลปะตามระบบทุนนิยม ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินทำการทดลองอะไรที่แปลกใหม่ คำว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่เริ่มแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ยิ่งกระจายออกไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำๆนี้สามารถใช้อธิบายศิลปะที่เกิดจากความคิดส่วนตัวของศิลปิน ที่มีความเป็นปัจเจกสูงเสียจนไม่ต้องการการอ้างอิงไปถึงประเด็นทางสังคมและศาสนา


          การเติบโตของ ศิลปะสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการที่สังคมตะวันตกได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ “ความเป็นอุตสาหกรรม”, “ความเป็นเมืองใหญ่แบบมหานคร” และการเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมอย่างเต็มที่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินสมัยใหม่ได้ท้าทายรสนิยมของชนชั้นกลาง โดยหาเรื่องและประเด็นใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ที่ดูแปลกประหลาดไปจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิม


          ศิลปะสมัยใหม่มักจะมีแนวเนื้อหาเกี่ยวกับ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยี การค้นหาจิตวิญญาณ และ การกระตุ้นด้วยความป่าเถื่อน (จากความสนใจในศิลปะของคนป่า (Primitivism)) ศิลปินได้แสดงออกแนวเนื้อหาเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย


          แนวเนื้อหาของการเฉลิมฉลองเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของการชื่นชม “ความเร็ว” ดังที่เห็นได้จากศิลปะในลัทธิ ฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) การใช้แนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นในงานของพวก คอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism ในสหภาพโซเวียต)


          การค้นหาจิตวิญญานจะมีอยู่ในงานของพวก ซิมโบลลิสม์ (Symbolism ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา) เดอ สตีล หรือ เดอะ สไตล์ (De Stijl/The Style ในเนเธอร์แลนด์) นาบิส (Nabis ในฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษ 1890) และ แดร์ บลาว ไรเตอร์ หรือ เดอะ บลู ไรเดอร์ (Der Blaue Reiter/The Blue Rider ในเมืองมิวนิค เยอรมนี) งานประเภทนี้ถือว่าเป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่


          ความสนใจในความเถื่อนของศิลปะจากคนป่าและชาวเกาะ (อัฟริกันและชาวเกาะ หรือ โอเชียนนิค Oceanic) จะปรากฏชัดในงานของ โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ (Cubism) และ เยอรมัน เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (German Expressionism ในเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20) ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นผลของลัทธิ “จักรวรรดินิยม” (Imperialism) ที่นิยมล่าอาณานิคม และอ้างว่าตน (ตะวันตก) “ค้นพบ” วัฒนธรรมของดินแดนอันไกลโพ้นเหล่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

มรดกโลก : มงต์-แซงต์-มีแชล (Mont Saint-Miche) ประเทศฝรั่งเศส


               มงต์-แซงต์-มีแชล คือ วิหารที่ตั้งอยู่บนเกาะโดดเดี่ยว กลางทะเลชายฝั่งตะวันตก บริเวณบาส-นอร์มองดีของประเทศฝรั่งเศส ได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1979 ภายใต้ชื่อ มงต์-แซงต์-มีแชล และอ่าว

ประวัติ

                ก่อนที่จะมีการสถานปนาราชวงศ์แรกของฝรั่งเศสขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกาะนี้เป็นเกาะเล็กๆ เคยถูกเรียกว่า มงตงบ์ (Mont Tombe) ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และตามตำนาน กล่าวว่า



  
              วิหารที่อยู่บนเกาะนี้ถูกสร้างเมื่อปี ค.ศ. 708 เมื่อโอแบรต์ (Aubert) เจ้าอาวาสโบสถ์เมืองอาวรองช์ (Avranches) สร้างโบสถ์บนเกาะนี้ตามบัญชาของนักบุญมิเชล (Saint Michel) ซึ่งมาให้นิมิตหลายครั้ง แต่เขาก็มิได้ปฏิบัติตาม เนื่องจากนึกว่าปีศาจได้มาเข้าฝัน เขาจึงได้เพิกเฉยไป จนมาถึงการฝันครั้งที่ 3 มีแชลได้ใช้นิ้วของเขาจิ้มที่หัวของโอแบร์ และเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาก็ได้ตะลึงว่ามีรูอยู่บนหัวจริง ๆ จากนั้นมาเขาจึงตัดสินใจสร้างวิหารบนยอดเขา การสร้างโบสถ์นี้ลำบากยากเข็ญเพราะต้องนำหินแกรนิตมาจากเกาะโชเซย์ (iles Chaussey) หรือจากเบรอะตาญ (Bretagne) อันเป็นแคว้นใกล้เคียง ทั้งยังต้องลำเลียงหินสู่ยอดเขา มงต์-แซงต์-มิเชลกลายเป็นที่จาริกแสวงบุญของคริสต์ ศาสนิกชนผู้ที่เคร่งศาสนา จะเดินข้ามจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะยามน้ำทะเลลด หากกระแสน้ำเปลี่ยนเร็วมาก จึงทำให้ผู้จาริกแสวงบุญเสียชีวิตอยู่เนืองๆ ระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึงศตวรรษที่ 16 มีการสร้างเพิ่มเติม ในศตวรรษที่ 10 นักบวชเบเนดิคตีนมาปักหลักที่นี่ ผู้คนค่อยๆ มาอพยพมายังเกาะ ตั้งหมู่บ้านที่เชิงเขา สภาพภูมิประเทศของมงต์-แซงต์-มิเชลทำให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของอังกฤษระหว่าง สงครามร้อยปี อย่างไรก็ตามแบบสถาปัตยกรรมของมงต์-แซงต์-มิเชลเป็นป้อมปราการที่พร้อมรับ มือข้าศึกช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสจนถึง ค.ศ.1863 มงต์-แซงต์-มิเชล กลายเป็นที่คุมขังนักโทษ ต่อมาในค.ศ.1874 รัฐจัดให้มงต์-แซงต์-มิเชลเป็นโบราณสถาน และทำการบูรณะครั้งใหญ่ โบสถ์เล็กๆ กลายเป็นวิหารขนาดใหญ่ด้วยการใช้โบสถ์เก่าเป็นฐานใน ค.ศ.1969 นักบวชเริ่มกลับมายัง มงต์-แซงต์-มิเชล ทำให้มีกิจกรรมทาง ศาสนาอย่างต่อเนื่อง ในค.ศ.1979 ยูเนสโกประกาศให้มงต์-แซงต์-มิเชลเป็นมรดกโลก วิคตอร์ อูโก (Victor Hugo) นักเขียนเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่เปรียบมงต์-แซงต์-มิเชลของฝรั่งเศสดุจดั่ง พีระมิดใหญ่ของอียิปต์


รูปแบบของศิลปะ



                 ตึกสร้างแบบศิลปะโกธิกที่เด่นมากคือ ตึกลาแมร์เวย หรือ ยอดมหัศจรรย์ ประกอบด้วย หมู่กุฏิโรงทาน กุฏิโรงรับรอง และเป็นที่เลี้ยงอาหาร มีระเบียงซึ่งตกแต่งไว้อย่างงดงาม ช่วยให้ความงามอันแท้จริงของศิลปะโกธิกเด่นชัดขึ้น ในสมัยสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสไว้ได้ แต่ก็มิได้กักกันรังแกผู้ที่จะไปแสวงบุญ ณ สถานที่แห่งนี้ กลับช่วยให้ความสะดวกปลอดภัยแก่ผู่มาเยือนอีกด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีการสร้างกำแพงและป้อมปราการป้องกันศัตรูอย่างแข็งแรง แทนบางส่วนที่พังทลายไป โดยใช้ศิลปะแบบโกธิกทั้งสิ้น ยอดแหลมของโบสถ์ใหญ่ได้มีการสร้างต่อเติมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ยังคงรักษาศิลปะสมัยกลางไว้อย่างครบถ้วน ดูเสมือนหนึ่งเป็นมงกุฎของม่อนผานักบุญมิเชล

ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A5

• http://www.abroad-tour.com/france/world_heritage/mont_saint_michel.html
• http://noppp700.wordpress.com/2009/07/22/%E0%B8%A1%E0%B8%87-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A5-mont-saint-michel/

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

359 ปี บันทึกของปินโตหลักฐานประวัติศาสตร์หรือนิยายผจญภัย

ประวัติของปินโต


ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน


ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583


ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง


หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา


งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship”

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม


บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า


“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น


สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”


การเข้าร่วมรบในกองทัพสยามครั้งนั้นเป็นการถูกเกณฑ์ หากไม่เข้าร่วมรบก็จะถูกขับออกไปภายใน 3 วัน ด้วยเหตุนี้จึงมีชาวโปรตุเกสถึง 120 คน จากจำนวน 130 คน อาสาเข้าร่วมรบในกองทัพสยาม เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าเป็นศึกเมืองเชียงกรานซึ่งเกิดขึ้นในค.ศ.1538 (พ.ศ.2081) คลาดเคลื่อนไปจากที่ระบุในหลักฐานของปินโต 10 ปี แม้ว่าสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจะทรงอ้างจากหนังสือของปินโตก็ตาม


เรื่องราวในหนังสือ Pérégrinação สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส (Domingos de Seisus) ซึ่งเคยถูกจองจำและรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา (กรมวิชาการ , 2531: 109) ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียนของจูอาว เดอ บารอส (João de Baros) เช่นกัน (กรมวิชาการ,2531 : 95) เป็นต้น นอกจากนี้ อี.ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน(E.W. Hutchinson) ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า


“ทหารโปรตุเกสจำนวน 120 คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงจ้างเป็นทหารรักษา


พระองค์(bodyguards)ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่”


ดร.เจากิง ดึ กัมปุชชี้ว่า บทบาทของทหารอาสาชาวโปรตุเกสในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชอาจส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุงตำราพิชัยสงครามภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส จนเป็นที่มาของการตั้ง “กรมทหารฝารั่งแม่นปืน” ใน หนังสือ“ศักดินาทหารหัวเมือง” ซึ่งประกอบด้วยทหารเชื้อสายโปรตุเกสจำนวน 170 นาย จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใกล้เคียงกับจำนวนของทหารอาสาโปรตุเกส 120 คน ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา


หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า และราชอาณาจักรโปรตุเกส รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร ปินโตระบุว่านักสอนศาสนาก็จำเป็นต้องเผยแพร่ศาสนาภายใต้นโยบายของราชสำนักหรือผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัวเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป เมื่อนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(St. Francis Xavier)จะออกไปเผยแพร่ศาสนาในญี่ปุ่น ท่านก็ต้องเดินทางจากมะละกาไปยังกัว เพื่อรับฟังนโยบายของผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งอินเดียเสียก่อน (กรมศิลปากร, 2526 : 35) การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา(Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส(João de Baros )และคาสปาร์ คอร์รีอา(Caspar Correa)เสียดสีเลยแม้แต่น้อย


การกล่าวว่ากองทัพพม่านำกระบือและแรดมาลากปืนใหญ่เพื่อทำสงครามกับสยามในฉบับแปลของโคแกน ทำให้วูด(Wood)ชี้ว่างานเขียนของปินโต “เป็นหลักฐานเชิงจินตนาการ” ข้อเสนอของวูดอาจทำให้นักเรียนประวัติศาสตร์เห็นคล้อยไปกับคอนเกรฟที่ระบุว่า ปินโตเป็นคนขี้ปด โชคดีที่ ดร. เจากิง ดึ กัมปุชแย้งว่า ปินโตไม่เคยระบุคำว่า “แรด” ในงานเขียน คำศัพท์ที่เขาใช้ คือ คำว่า “bada หรือ abada”นั้น ในคริสต์ศตวรรษที่16 หมายถึง สัตว์ป่า หรือ สัตว์เลี้ยงที่กลายเป็นสัตว์ป่า แม้ว่าจะมีนักเขียนบางคน เช่น บาทหลวง กาสปาร์ ดึ ครูซ (Fr. Gaspar de Cruz) จะใช้คำดังกล่าวเรียกแรดก็ตาม ส่วนบาร์โบซา (Duarte Barbosa) จูอาว ดึ บารอส (João de Baros ) และ คาสปาร์ คอร์รีอา (Caspar Correa) ต่างก็ใช้คำว่า “ganda” ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตเมื่อกล่าวถึงแรด ขณะที่นักรวบรวมพจนานุกรม ชื่อ บลูโต (Bluteau, 1727) แปลคำว่า “abada คือ สัตว์ป่าชนิดหนึ่ง” ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งประเด็นที่มีการแปล “abada” ว่า “แรด” (Campos, 1959 : 228) แม้ในภาษามาเลย์จะมีคำว่า “badâk” แปลว่า “แรด” แต่ในภาษาอาหรับก็มีคำว่า “abadat” หมายถึง “สัตว์ที่มีรูปร่างเป็นสีน้ำตาล” หรือ “สัตว์ป่า” หรือ “สัตว์เลี้ยงที่หลบหนีไปจนกลายเป็นสัตว์ป่า” ดึ กัมปุช ระบุว่า คำว่า “abada” ถูกแปลว่า “แรด” ในคริสต์ศตวรรษที่17 ดังนั้น “abada” ในบันทึกของปินโตจึงถูก ฟิกูอิเยร์และโคแกนแปลว่า “แรด” ในเวลาต่อมา ปินโตจะใช้คำว่า “abada” เมื่อกล่าวถึง “จามรี(yaks)” ซึ่งเป็นสัตว์ต่าง (beast of burden) ในตาตาเรีย (Tataria) เพราะไม่มีศัพท์ดังกล่าวในภาษาโปรตุเกส และใช้คำภาษาอาหรับว่า “abida” ในที่อื่นๆอีกร่วม12ครั้งเมื่อกล่าวถึงสัตว์ใหญ่คล้ายแรดหรือสัตว์ต่างชนิดอื่นซึ่งไม่อาจหาคำมาใช้แทนได้


ความคิดเห็น

ข้าพเจ้าคิดว่าบทความของปินโต เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากว่า เป็นบันทึกที่มีคุณค่าที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในอดีตซึ่งนำมาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้นำไปศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรสยาม ซึ่งอ้างอิงถึงในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ทำให้ทราบถึง ความสัมพันธ์ระหว่างโปรตุเกสและราชอาณาจักรสยาม รวมไปถึงวัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย เรื่องราวในพระราชสำนักในสมัยนั้น ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่มีคุณค่าอย่างงยิ่งในการศึกษาเรื่องราวในอดีต